ประสบความสำเร็จด้วยกฎแรงดึงดูด
กฎแรงดึงดูด คืออะไร ความเข้าใจในความคิดเห็นของผมมันคือ สิ่งที่เป็นตัวกำนดจากจิตใต้สำนึกของเรา และของทุกๆคน
ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม หรือจะคิดอะไรก็ตามล้วนแล้วแต่มาจาก จิตใต้สำนึกเป็นตัวกำหนดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวเราเป็นคนเลือก ดังนั้น จิตใจสำนึกจึงมีความสำคัญต่อตัวเรามากไม่ว่าจะทำอะไร เช่น เราจะกินอะไร ชอบอะไร เลือกอะไร ทำงานหรือเรียนอะไร ล้วนมากจากกระบวนการนึกคิด จากจิตใต้สำนึก หรือ กฎแรงดึงดูดนั่นเอง
คนเคยสังเกตุไหมเช่น บ้างครั้งไม่ได้เจอเพื่อน คนหนึ่งเป็นเวลานานมากแล้ว แค่เรานึกถึงนึกคิดกับเพื่อนคนนั้น ซักพัก เพื่อนคนนั้นก็จะโทรมาหาเราเอง เหมือนกับว่าเขาจะรู้ว่าเราคิดถึง หรือนึกอยากจะได้อะไร ก็จะมีวิธี หรือมีคนหยิบยื่นให้ โดยที่เราอาจจะไม่คาดคิดมาก่อน
ดังนั้นจึงบอกว่า จิตใต้สำนึกของคนเรามีพลังมากมายมหาศาล แต่กลับไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก คนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่เขาค้นพบว่า จิตใต้สำนึก หรือ กฎแรงดึงดูดมีพลังจนทำให้เขานั้นประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิต
กฎแรงดึงดูดที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ
1 จินตนาการ อย่างที่มีคนเคยพูดไว้ว่า จิตนาการสำคัญกว่าความรู้ ผมว่ามันเรื่องจริง เพราะว่าก่อนที่เราจะพวกเทคโนโลยี หรืออะไรก็ตามนั้น พวกนักวิทยาศาสตร์ เขาต้องจินตนาการก่อนว่าเขาจะสร้างอะไรขึ้นมานั้น มันจะสามารถเป็นอย่างไร และมีประโยชน์อย่างไร มีความสำคัญอย่างไร
ดังนั้นเราต้องสร้าง จินตนาการ คิดซ้ำๆ เช่นเราต้องการรถ ต้องระบุด้วยว่า รถยี่ห้ออะไร สีอะไร เป็นแบบไหน ขับแล้วรู้สึกอย่างไร ให้คิดเหมือนกับว่าเราได้รถคันนั้นมาแล้ว
2 สะกดจิตตัวเองติดต่อกับจิตใต้สำนึก เช่น ว่าวันนี้เราเหนื่อยจัง เราเหนื่อย อีก 6 ชั่วโมงหลังจากนั้น คุณจะไม่มีแรง โดยไม่รู้สาเหตุ และอีกกรณีเช่น ไอ้โน่นก็แพง ไอ้นี่แพง มันเป็นสะกดจิตตัวเอง จนสุดท้ายเราก็ไม่มีทางที่จะซื้อสิ่งเหล่านั้นได้ เพราะมันแพง
ต้องพูดกับตัวเองว่า เดี๋ยวฉันจะหาทางซื้อให้ได้ ให้พูดซำๆ เงินจะมา และซื้อของนั้นจนได้
หรือเราอยากจะมีความสุข หรืออยากประสบความสำเร็จ ให้เรายืน ส่องกระจกแล้วพูดกับตัวเองว่า เรายอดเยี่ยม ฉันมีความสุขจังเลย ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ประมาณ 18 ครั้ง
ทำไมต้อง 18 ครั้ง คือ จิตใต้สำนึกเราจะบันทึกเรื่องราวอย่างมั่นคง ต้องพูดซ้ำๆกัน 18 ครั้ง มันจะตอบสิ่งอื่นไม่ได้เลยนอกจากสิ่งนี้ ต้องทำ 18ครั้งต่อวัน
ดังนั้นเราต้องสร้าง จินตนาการ คิดซ้ำๆ เช่นเราต้องการรถ ต้องระบุด้วยว่า รถยี่ห้ออะไร สีอะไร เป็นแบบไหน ขับแล้วรู้สึกอย่างไร ให้คิดเหมือนกับว่าเราได้รถคันนั้นมาแล้ว
2 สะกดจิตตัวเองติดต่อกับจิตใต้สำนึก เช่น ว่าวันนี้เราเหนื่อยจัง เราเหนื่อย อีก 6 ชั่วโมงหลังจากนั้น คุณจะไม่มีแรง โดยไม่รู้สาเหตุ และอีกกรณีเช่น ไอ้โน่นก็แพง ไอ้นี่แพง มันเป็นสะกดจิตตัวเอง จนสุดท้ายเราก็ไม่มีทางที่จะซื้อสิ่งเหล่านั้นได้ เพราะมันแพง
ต้องพูดกับตัวเองว่า เดี๋ยวฉันจะหาทางซื้อให้ได้ ให้พูดซำๆ เงินจะมา และซื้อของนั้นจนได้
หรือเราอยากจะมีความสุข หรืออยากประสบความสำเร็จ ให้เรายืน ส่องกระจกแล้วพูดกับตัวเองว่า เรายอดเยี่ยม ฉันมีความสุขจังเลย ยอดเยี่ยม ยอดเยี่ยม ประมาณ 18 ครั้ง
ทำไมต้อง 18 ครั้ง คือ จิตใต้สำนึกเราจะบันทึกเรื่องราวอย่างมั่นคง ต้องพูดซ้ำๆกัน 18 ครั้ง มันจะตอบสิ่งอื่นไม่ได้เลยนอกจากสิ่งนี้ ต้องทำ 18ครั้งต่อวัน
3 ความเชื่อ คุณต้องมีความเชื่อ ว่าคุณทำได้ คุณก็จะทำได้ เชื่อว่าคุณรวย คุณก็จะรวย เชื่อแบบไหนได้แบบนั้น แต่ต้องเชื่อแบบไม่มีข้อสงสัย เช่น เชื่อว่าเราจะรวย แต่เราจะรวยได้ยังไง รวยได้จริงหรอ อย่างนี้ ยังมีข้อสงสัยในความเชื่ออยู่ ถ้าเป็นแบบนี้ ยังไงก็ไม่รวย เพราะพลังความเชื่อมันไม่เข้มข้น ไม่มีพลัง
4 จดจ่อ คือ จดจ่อกับสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ตาม ให้จดจ่อกับสิ่งนั้น ที่คุณอยากได้ อยากมี อยากเป็น กระบวนการสั่นสะเทือนทางจิต จะส่งคลื่นพลังงานเหล่านั้น ไปดึงดูดสิ่งที่เราต้องการนั้นมา ไม่ว่าจะเป็นช่องทางที่ได้มันมา หรือ มีคนนำมาให้ หรืออื่นๆ ที่ทำให้เราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
5 ปล่อยวาง หรือ รอรับ เมื่อเราได้ทำตามข้างต้นแล้วนั้น เราต้องรู้จักปล่อยวางด้วย เพื่อไม่ให้ตัวเองเครียดหรือมกมุ่นจนเกินไป
4 จดจ่อ คือ จดจ่อกับสิ่งที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาไหนก็ตาม ให้จดจ่อกับสิ่งนั้น ที่คุณอยากได้ อยากมี อยากเป็น กระบวนการสั่นสะเทือนทางจิต จะส่งคลื่นพลังงานเหล่านั้น ไปดึงดูดสิ่งที่เราต้องการนั้นมา ไม่ว่าจะเป็นช่องทางที่ได้มันมา หรือ มีคนนำมาให้ หรืออื่นๆ ที่ทำให้เราได้อย่างไม่น่าเชื่อ
5 ปล่อยวาง หรือ รอรับ เมื่อเราได้ทำตามข้างต้นแล้วนั้น เราต้องรู้จักปล่อยวางด้วย เพื่อไม่ให้ตัวเองเครียดหรือมกมุ่นจนเกินไป
และสุดท้ายขอบคุณ ไม่ว่าคุณจะได้สิ่งนั้นหรือไม่ก็ตาม ให้คุณนั้น ขอบคุณทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณได้ทำมาพลังแห่งการขอบคุณ จะส่งผลให้คุณนั้นได้รับผลการตอบแทนกลับมา ไม่ช้าก็เร็ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น